โครงการพัฒนาศูนย์กลางของเมืองและบริเวณโดยรอบให้มีความสามารถในการตั้งรับปรับตัว (RUCaS) เพื่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจที่มีความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

การแก้ไขปัญหาด้วยวิธีธรรมชาติ (Nature-based solutions - NbS) สามารถก่อประโยชน์อย่างหลากหลายแก่สังคมเมืองเพื่อพัฒนาศูนย์กลางของเมืองและบริเวณโดยรอบให้มีความสามารถในการตั้งรับปรับตัว


ติดต่อเรา
หากมีข้อสงสัย โปรดติดต่อเราได้ที่ info@wscaustralia.org.au
Department of Foreign Affairs and Trade

โครงการ RUCaS ได้รับทุนจากรัฐบาลออสเตรเลียผ่านกระทรวงการต่างประเทศและการค้าของออสเตรเลีย (DFAT) ข้อมูลและมุมมองที่อยู่ในหน้านี้เป็นของผู้เขียนและไม่ถือเป็นความคิดเห็นของรัฐบาลออสเตรเลีย
Image
Image
Image
เมืองคืออนาคตของเรา

เขตเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรมากกว่า 40% ของภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจะเข้าอาศัยในเขตเมือง ภายในปี ค.ศ. 2030

วิธีที่เมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงใช้บริหารการเติบโต จะเป็นตัวบ่งชี้ต่อสุขภาพ ความมั่งคั่ง และความเป็นอยู่ของชุมชนและธรรมชาติของภูมิภาคในอนาคต ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพิ่มแรงกดดันที่เขตเมืองต่างๆ ต้องเผชิญ

โครงสร้างพื้นฐาน "สีเทา" ขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถมอบผลลัพธ์ทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจที่ชุมชนในลุ่มน้ำโขงต้องการด้วยต้นทุนที่เหมาะสม

การแก้้ไขปัญหาด้วยวิธีธรรมชาติ (Nature-based solutions - NbS) กำลังถูกนำมาประสานกับการวางแผนผังเมืองเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน "สีเขียว" หรือ "สีเทา-เขียว" เพื่อสร้างศูนย์กลางของเมืองที่มีความสามารถในการตั้งรับปรับตัว ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม

โครงการ RUCaS จะใช้การจัดการน้ำเป็นตัวหลักในการดำเนินการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของเมืองให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศของ 4 ประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย ไทย เวียดนาม กัมพูชา และ สปป. ลาว

ผ่านการดำเนินการ 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้:

  1. เชิญชวนกลุ่มประเทศภาคีในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงให้ร่วมดำเนินการ และหาโอกาสที่เกิดขึ้นจากการลงทุนในแนวคิด NbS แบบผสมผสานร่วมกัน
  2. สาธิตการนำแนวทาง NbS ไปประยุกต์ใช้ในแต่ละประเทศ และกรณีศึกษาทางเศรษฐศาสตร์
  3. รองรับการขยายผลและสร้างผลกระทบในวงกว้าง
  4. สร้างรากฐานเพื่อสืบทอดแนวคิดอย่างยั่งยืน

ประเทศภาคีแต่ละประเทศนั้นมีความแตกต่าง และแต่ละประเทศจะคืบหน้าผ่านทั้ง 4 ขั้นตอนในอัตราที่สอดคล้องกับความพร้อมและความร่วมมือต่อกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ

อ่านเอกสารความเป็นมาเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม




กิจกรรมต่างๆ
เราจะจัดกิจกรรมการกระจายความรู้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ โดยเราจะเพิ่มข้อมูลของกิจกรรมที่กำลังจะจัดขึ้น และจะบันทึกเนื้อหาของกิจกรรมดังกล่าวที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ดูกิจกรรมทั้งหมด

สั่งสมประสบการณ์จากโครงการต่างๆ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

โครงการนี้ต่อยอดจากโครงการและการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีธรรมชาติในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยตอบสนองจากความต้องการในประเทศเพื่อต่อยอดโครงการที่เริ่มดำเนินการแล้ว สำหรับประเทศไทยและเวียดนาม

และดำเนินการต่อยอดและพัฒนาโครงการใหม่ สำหรับประเทศกัมพูชาและสปป.ลาว

ปรับใช้เครื่องมือและทรัพยากรให้เข้ากับบริบทท้องถิ่น
โครงการ RUCaS จะนำเครื่องมือและกรอบความรู้ที่พัฒนาโดยศูนย์งานวิจัยร่วมเพื่อเมืองที่มีความอ่อนไหวต่อน้ำ (Cooperative Research Centre for Water Sensitive Cities - CRCWSC)

การบริหารจัดการน้ำท่วม
อย่างบูรณาการ

คู่มือการบริหารจัดการน้ำท่วมอย่างบูรณาการในประเทศจีน

INFFEWS:
เครื่่องมือวัดมูลค่า (Value Tool)

ชุดข้อมูลที่รวบรวมมูลค่าทางตลาด และมูลค่านอกตลาด เกี่ยวกับระบบและแนวทางปฏิบัติการที่มีความอ่อนไหวต่อน้ำ

INFFEWS:
เครื่องมือพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุน (Benefit-Cost Analysis Tool)

เครื่องมือที่พัฒนาเพื่อพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุน
ที่สอดคล้องกับเมืองที่มีความอ่อนไหวต่อน้ำ

ศูนย์วิจัย CRCWSC ได้พัฒนางานวิจัย แนวทาง
และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อต่อไปนี้

การบริหารจัดการน้ำท่วม
อย่างบููรณาการ

การบรรเทาผลกระทบ
จากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

การมีส่วนร่วม
ของชุมชน

กรณีทางเศรษฐศาสตร์
และกรณีทางธุรกิจ


ความตั้งรับปรับตัวต่อน้ำท่วม
โครงสร้างพื้้นฐานสีเขียว
ความร้อนในเขตเมือง